ตามบันทึกประวัติศาสตร์เมื่อ 3,000 ปีก่อนพบว่าชนเผ่าโอลเมค (Olmec) ซึ่งเป็นชนเผ่าเเรกที่ครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณป่าดงดิบเขตร้อนทางตอนใต้ของเวลาครูซ (Veracruz) บนอ่าวเม็กซิโก มีการกล่าวถึงคำว่าโกโก้เเละอธิบายไว้ว่า ต้นโกโก้ ต้องการสภาพอากาศร้อนชื้น เเละ ร่มเงาเพื่อการเจริญเติบโต คล้ายกับถิ่นที่อยู่อาศัยของชนเผ่า Olmec ดังนั้นนักประวัติศาสตร์หลายท่านจึงเชื่อกันว่า ชนเผ่าที่เจริญชนเผ่าเเรกที่ทำการเพาะปลูกต้นโกโก้เพื่อใช้เป็นอาหาร คือ ชนเผ่าโอลเมค (Olmec) ไม่ใช่ชนเผ่า เอซเทค (Aztec) ตามที่เชื่อกัน ต่อจากนั้นเป็นเวลาหลายร้อยปีภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรโอลเมค ชนเผ่ามายา (Maya) ได้สถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้นมาบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ ตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน โดยครอบคลุมตั้งเเต่ Yucatan peninsula ในอเมริกากลางข้ามไปถึง Chiapas เเละชายฝั่งเเปซิฟิคของประเทศ กัวเตมาลาซึ่งมีสภาพภูมิอากาศร้อนชุ่มชื้นฝนตกชุก เหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นโกโก้โดยชนเผ่ามายาาเรียก ต้นโกโก้ว่า “cacahuaquchtl” เเละเชื่อว่าเป็นต้นไม้ของพระผู้เป็นเจ้า เเละ ฝัก (ผล) โกโก้ที่ออกบริเวณลำต้นเป็นของขวัญที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้มนุษย์
ชนเผ่ามายา (Maya) เป็นมนุษย์กลุ่มเเรกที่สร้างเครื่องดื่มรสขมจากเมล็ดโกโก้ เเละ ถือว่าเป็นเครื่องดื่มชั้นเลิศสำหรับกษัตริย์ เเละ ขุนนางชั้นสูงเท่านั้น มีการพบหลักฐานการใช้ประโยชน์จากโกโก้ของชนเผ่ามายาจากภาพวาดบนเเจกันดินเผาที่ขุดพบในปี ค.ศ. 1984 บริเวณประเทศกัวเตมาลา ต่อมาเมื่ออาณาจักรของชาวมายา (Mayan empire) ล่มสลายในราวปี ค.ศ.900 ชนเผ่าโทลเทค (Toltecs) เเละชนเผ่าเอซเทค (Aztecs) จากเม็กซิโกได้เข้ามาตั้งรกรากเเทนที่เเละมีความเชื่อว่า Quetzalcoat กษัตริย์ของชนเผ่าเอซเทค เป็นผู้นำเมล็ดโกโก้มาจากสรวงสวรรค์ เเละ สอนให้มนุษย์ปลูก ภาพเเกะสลักหิน เเสดงการอุ้มผล(ฝัก)โกโก้ของชนเผ่าเอซเทค (Aztec)
โคลัมบัสเป็นชาวยุโรปคนเเรกที่รู้จักโกโก้ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1502 ในการเดินทางไปทวีปอเมริกาครั้งที่ 4 นักสำรวจชาวสเปนโดยเฮอร์นานโด คอร์เทซ เป็นผู้ค้นพบความสำคัญของเมล็ดโกโก้เเละเขียนจดหมายรายงานกษัตริย์คาร์ลอส ที่ 1 เเห่งสเปน ในปี ค.ศ. 1528 ว่าช็อกโกเเลต ที่เรียกว่า Xocoati นั้นเป็นเครื่องดื่มที่สร้างภูมิต้านทานเเละช่วยเเก้ง่วงได้ คอร์เทซได้นำเมล็ดโกโก้กลับไปถวายราชสำนักสเปนพร้อมสูตรในการปรุงเเต่งด้วยเครื่องเทศ ในศตวรรษที่ 17 ช็อกโกเเลตกลายเป็นเครื่องดื่มสามัญที่เเพร่หลายไปทั่วยุโรป
ค.ศ.1828 คอนราด เเวน ฮูสเทน นักเคมีชาวดัตซ์ สามารถสกัดเนยโกโก้ออกจากช็อกโกเเลตเหลว สิ่งที่ได้คือโกโก้เเบบผงโดยจดลิขสิทธิ์กรรมวิธีการคั้นไขมันออกจากเมล็ดโกโก้อบเนื่องจากเนยธรรมชาติของโก โก้มีอยู่มากเกินไปสำหรับระบบการย่อยอาหารของมนุษย์
ค.ศ.1848 คอนราด เเวน ฮูสเทน ได้คิดค้นกระบวนการทำช็อกโกเเลตปรุงสำเร็จสามารถรับประทานได้ทันที โดยเติมเนยโกโก้เเละน้ำตาลลงในช็อกโกเเลตเหลว
ชาวดัตซ์เเละชาวสเปน เป็นผู้นำโกโก้มาปลูกเเละเผยเเพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างศตวรรษที่ 16 เเละ 17